วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 6 ข้อสอบ 7 วิชาหลัก




Cr. https://fbcdn-photos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-0/p261x260/74785_459467347432418_1349926925_n.jpg?oh=1bbe47c37232c18b0215973087090309&oe=56290F43&__gda__=1446001576_4586c99049fddc339327b399519e81ac



7 วิชาสามัญ คืออะไร และต้องสอบทั้ง 7 วิชาเลยไหม

        สทศ. บอกมาว่าเป็นข้อสอบที่ยากกว่า O-NET แต่ง่ายกว่า GAT PAT จัดทำขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตที่สมัยก่อนหากเด็ก ม.6 สมัครรับตรง 5 ที่ ก็ต้องวิ่งหัวฟูไปสอบ 5 ครั้ง แต่หากเป็นปีนี้สบายมาก ไม่ว่าจะสมัครกี่ที่ ก็สอบแค่ครั้งเดียวจบ คือ สอบ 7 วิชาสามัญครั้งเดียว ชุดเดียว ทั่วประเทศจบไปเลย โดย 7 วิชาสามัญนี้แต่ละคณะจะสอบไม่เท่ากัน บางคณะก็สอบหมด 7 วิชา บางคณะก็สอบแค่ 3 ดังนั้นต้องไปดูในระเบียบการรับตรงแต่ละมหาวิทยาลัย ว่าคณะที่เราจะเข้า เขาได้มากำหนดให้สอบวิชาไหน ส่วนมหาวิทยาลัยไหนไม่กำหนด ก็ไม่ต้องสอบ

ข้อสอบเป็นยังไง ?
เป็นเนื้อหาตามหลักสูตรที่อยู่ในบทเรียนตั้งแต่ ม.4-6 แต่จะยากกว่าข้อสอบโอเน็ตเพราะเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย โดยเนื้อหาจะออกให้ตรงกับที่มหาวิทยาลัยมากที่สุด  เป็นปรนัย 5 ตัวเลือก

สอบตอนไหน ?
ต้นเดือนมกราคม

ใครเป็นคนออกข้อสอบ?
             อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย

สอบอะไรบ้าง ?
มีทั้งหมด 7 วิชา คือ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคมศึกษา, คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ โดยไม่มีวิชาหมวดศิลปะ สุขศึกษา ฯลฯ ซึ่งเป็นความแตกต่างจากข้อสอบโอเน็ต

สมัครสอบยังไง ?
สมัครด้วยตัวเอง ตลอดเดือนตุลาคม เลือกเฉพาะวิชาที่จะสอบ

มีเวลาทำข้อสอบกี่นาที ?
1ชั่วโมง30นาที




CR. https://blog.eduzones.com/images/blog/socialdome/2012122721018.png


คะแนนเต็มเท่าไหร่ ?

วิชาละ100 คะแนน

สอบมาแล้ว คะแนนเก็บได้กี่ปี ?
ใช้ได้ปีต่อปี ปีหน้าจะสอบใหม่ก็ต้องสมัครใหม่ค่ะ


เอาคะแนนไปทำอะไรได้บ้าง ?
เป็นข้อสอบกลาง ใช้ในการคัดเลือกระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ (บางมหาวิทยาลัยไม่ใช้คะแนนส่วนนี้ เพราะจัดสอบเอง)

จะสมัครสอบ ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?
วิชาละ 100 บาท

ข้อสอบนี้ มันยากหรือง่าย ?
ยาก!! เนื่องจากเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกและมีความเข้มข้นทางด้านเนื้อหา ดังนั้นจึงมีระดับความยากใกล้เคียงกับ PAT หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ 

เลือกสนามสอบเองได้ปะ ?
เลือกเองได้ (แต่เท่าที่ประกาศออกมาตอนนี้ เปิดเพียงแค่ 4 สนาม คือ กทม., เชียงใหม่, ขอนแก่นและสงขลา ยังไม่รู้ว่าอนาคตจะเปิดเพิ่มมั้ย)




CR. http://image.dek-d.com/contentimg/2012/paeng/Adm.-Trick/Nov001ADM.jpg


ตัวอย่างข้อสอบ 7 วิชาสามัญ
   - มีข้อสอบตั้งแต่ปี 2555 - 2557 ทุกวิชา
    http://www.unigang.com/Article/14628
    http://p-dome.com/7-w-55-57/


CR. https://www.youtube.com/watch?v=UU_X5VU6ET4 by Krusomsri Classroom


Cr. https://www.youtube.com/watch?v=v9H_8Esa84s by Nawakhun Sanasilapin


Cr. https://www.youtube.com/watch?v=xMuFXypCJco by ondemandacademy

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://krupom.sbp.ac.th/?p=561












ใบงานที่ 5 ค่านิยม 12 ประการ


         

Cr. http://12values.siam.im/Image/banner1.jpg


            หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าทำไมต้องมีการบังคับให้จำ ค่านิยม 12 ประการ  ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นเหมือนกัน แต่เมื่อได้ลองไปศึกษาและไปทำความเข้าใจแล้ว ก็พบว่าเป็นสิ่งที่ดี  หากคนไทยยึดมั่นตามค่านิยมชาติที่เน้นทั้งเรื่องการพัฒนาตัวเองทั้งในด้านความสามารถ ทั้งคุณธรรม ศีลธรรม เพื่อร่วมมือกันทำให้ชาติบ้านเมืองและส่วนรวมดีขึ้น เหล่านี้ล้วนดีทั้งนั้น เหล่านี้ล้วนยิ่งต้องเผยแพร่ให้ขึ้นใจ ให้ฝังใจ วันใดคนไทยเข้มแข็ง ชาติเราก็จะเข้มแข็ง


  เพลงค่านิยม 12 ประการ

 "   หนึ่งรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    สองซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้
    สามกตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ
    สี่มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา
    ห้ารักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ
    หกไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา
    เจ็ดเรียนรู้ อธิปไตย ของประชา
    แปดรักษา วินัย กฎหมายไทย
    เก้าปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส
    สิบไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้
สิบเอ็ดต้อง เข้มแข็ง ทั้งกายใจ
    สิบสองไซร้ คิดอะไร ให้ส่วนรวม   "




     Cr. http://www.siamrath.co.th/web/sites/default/files/u56649/scan0017.jpg



Cr. http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/rungtip/1a/IG-%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A112%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3.jpg


Cr. https://www.youtube.com/watch?v=hQ2Jyk8FVpY by Kerkchai outhai



Cr. https://www.youtube.com/watch?v=H9891PGJl6Y by GMM GRAMMY OFFICIAL








ใบงานที่ 4 พรบ. เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์








พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

                มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

                มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่าอุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ 
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
                ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิดต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
                ผู้ให้บริการ หมายความว่า
                      (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่นโดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                      (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                “ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
                “พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                “รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

                มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้




หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

                มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา
ของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

                มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
        (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
          (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

                มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ






                มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
 (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ   โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ  อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
 (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓)หรือ (๔)

                มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

                มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย


                มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
  (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหาย
ได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหาย
ได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร




                    cr. http://www.site.rmutt.ac.th/cuemedia/files/2013/08/ACT-mix.jpg




Cr.  https://www.youtube.com/watch?v=LMh4_QQL3hA by somchart phaeumnart




Cr. https://www.youtube.com/watch?v=OdMqYTnBmX8 by seal2thai 


วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 3 สิ่งที่สนใจ





อนุสัญญาเวียนนา (Vienna Convention)

อนุสัญญาเวียนนาตั้งขึ้นเพื่อให้นานาประเทศร่วมกันดำเนินการป้องกันชั้นโอโซนในบรรยากาศมิให้ถูกทำลาย และร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจารูโหว่ของชั้นโอโซน โดยสนับสนุนให้เกิดการวิจัย และความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างประเทศต่างๆ นอกจากนี้อนุสัญญายังประกอบด้วยข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะลดและเลิกการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดการทำลายชั้นโอโซนอีกด้วย
อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2528 ประเทศไทยให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2532


        credit : http://www.khaoyaizone.com/images/upload_images/0830100001379207632.jpg



พิธีสารมอนทรีออล ( Montreal Protocol)

พิธีสารมอนทรีออลเกิดขึ้นภายใต้อนุสัญญาเวียนนา โดยเป็นกฎข้อบังคับให้ประเทศที่อยู่ภายใต้พิธีสารดำเนินการลดปริมาณการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดรูโหว่ของชั้นโอโซนในบรรยากาศ อันได้แก่ สารเคมีในตระกูล CFC มีการใช้มาตรการจำกัดการนำเข้า การส่งออก การบริโภค และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ตลอดจนควบคุมการผลิตในระดับอุตสาหกรรมให้เลิกใช้สารเคมีเหล่านี้
พิธีสารมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ . ศ . 2532 ประเทศไทยลงนามรับรองเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ . ศ . 2531 และเข้าเป็นภาคีในวันที่ 7 กรกฎาคม พ . ศ . 2532


         credit : http://www.thaiall.com/globalwarming/global_warming_03.jpg



อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 
(Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora :CITES) 

หลักการของอนุสัญญาฯ นี้คือ คุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์โดยระบบควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เป้าหมายของอนุสัญญาไซเตส คือ การอนุรักษ์ทรัยากรสัตว์ป่าและพืชป่าชนิดพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคามอันเนื่องมาจากการค้าระหว่างประเทศ โดยสร้างเครือข่ายทั่วโลกเพื่อควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์
อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2818 (เมื่อประเทศที่ลงนามรับรองอนุสัญญาฯ ได้ให้สัตญาบันครบ 10 ประเทศ) ปัจจุบันอนุสัญญาไซเตสมีประเทศภาคี 169 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549)
            ประเทศไทยส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมเพื่อยกร่างอนุสัญญาฯ นี้ในปี พ.ศ. 2516 แต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาฯ นี้ในปี พ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นภาคีลำดับที่ 78


                            credit : http://www.onep.go.th/library/images/250px-CITES-logo.gif



อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ

อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศโดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำ หรืออนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ตามชื่อสถานที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) คือ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญานี้เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกโดยสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด
อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2518(ค.ศ. 1975) ตามเงื่อนไขว่าด้วยอนุสัญญา ฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นภาคี 7 ประเทศ ขณะนี้นับถึง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 มีประเทศต่าง ๆ จากภูมิภาคทั่วโลกเข้าร่วมเป็นภาคีทั้งสิ้น 158 ประเทศ
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110 ซึ่งพันธกรณีของอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทยเป็นลำดับที่ 948 ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศของอนุสัญญาแรมซาร์


                   credit : http://www.onep.go.th/soe_online/images/stories/ramsar7.bmp




อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของอันตรายและการกำจัด (Basel Convention on the Control of Transboundary Movement of Hazardous Waste and their Disposal : BASEL)

หลักการและสาระสำคัญ
      อนุสัญญาบาเซลฯ มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากของเสียอันตรายและการป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
          (1) เพื่อลดการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดนให้น้อยที่สุด
          (2) เพื่อกำจัดของเสียอันตรายที่แหล่งกำเนินดให้ได้มากที่สุด
          (3) เพื่อลดการก่อกำเนินของเสียอันตรายทั้งในเชิงปริมาณและความเป็นอันตราย



                  credit : http://www.measwatch.org/sites/default/files/imagecache/550/150_0.jpg




พิธีสารเกียวโต (Kyoto protocal)

           พิธีสารเกียวโตเป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการอนุวัตของประเทศภาคี ภายใต้หลักการของอนุสัญญาฯ พิธีสารเกียวโตตั้งชื่อขึ้นตามสถานที่ในการเจรจาที่เมืองเกียวโต เมืองหลวงเก่าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ประกอบไปด้วย 28 มาตรา
ประเทศไทยได้ลงนามในพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 และได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 
credit : http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2012/12/for32121255p3.jpg&width=360&height=360




credit : https://www.youtube.com/watch?v=tWNCGp531fg  by Ballkung CM

credit : https://www.youtube.com/watch?v=YkWp0nJwKZU by Am P.S 


ขอขอบคุณ