อนุสัญญาเวียนนา (Vienna Convention)
อนุสัญญาเวียนนาตั้งขึ้นเพื่อให้นานาประเทศร่วมกันดำเนินการป้องกันชั้นโอโซนในบรรยากาศมิให้ถูกทำลาย
และร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจารูโหว่ของชั้นโอโซน
โดยสนับสนุนให้เกิดการวิจัย
และความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างประเทศต่างๆ นอกจากนี้อนุสัญญายังประกอบด้วยข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะลดและเลิกการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดการทำลายชั้นโอโซนอีกด้วย
อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมิถุนายน
พ.ศ. 2528 ประเทศไทยให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคยานุวัติเมื่อวันที่
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2532
credit : http://www.khaoyaizone.com/images/upload_images/0830100001379207632.jpg
พิธีสารมอนทรีออล ( Montreal Protocol)
พิธีสารมอนทรีออลเกิดขึ้นภายใต้อนุสัญญาเวียนนา
โดยเป็นกฎข้อบังคับให้ประเทศที่อยู่ภายใต้พิธีสารดำเนินการลดปริมาณการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดรูโหว่ของชั้นโอโซนในบรรยากาศ
อันได้แก่ สารเคมีในตระกูล CFC มีการใช้มาตรการจำกัดการนำเข้า การส่งออก การบริโภค
และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต
ตลอดจนควบคุมการผลิตในระดับอุตสาหกรรมให้เลิกใช้สารเคมีเหล่านี้
พิธีสารมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่
1 มกราคม พ . ศ . 2532 ประเทศไทยลงนามรับรองเมื่อวันที่
15 กันยายน พ . ศ . 2531 และเข้าเป็นภาคีในวันที่
7 กรกฎาคม พ . ศ . 2532
credit : http://www.thaiall.com/globalwarming/global_warming_03.jpg
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
(Convention on International Trade in
Endangered Species of Wild Fauna and Flora :CITES)
หลักการของอนุสัญญาฯ
นี้คือ
คุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์โดยระบบควบคุมการค้าระหว่างประเทศ
เป้าหมายของอนุสัญญาไซเตส คือ
การอนุรักษ์ทรัยากรสัตว์ป่าและพืชป่าชนิดพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคามอันเนื่องมาจากการค้าระหว่างประเทศ
โดยสร้างเครือข่ายทั่วโลกเพื่อควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่า พืชป่า
และผลิตภัณฑ์
อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อวันที่
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2818 (เมื่อประเทศที่ลงนามรับรองอนุสัญญาฯ
ได้ให้สัตญาบันครบ 10 ประเทศ)
ปัจจุบันอนุสัญญาไซเตสมีประเทศภาคี 169 ประเทศ (ข้อมูล ณ
วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549)
ประเทศไทยส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมเพื่อยกร่างอนุสัญญาฯ
นี้ในปี พ.ศ. 2516 แต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาฯ นี้ในปี พ.ศ. 2518
และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526
นับเป็นภาคีลำดับที่ 78
credit : http://www.onep.go.th/library/images/250px-CITES-logo.gif
อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศโดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำ
หรืออนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ตามชื่อสถานที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาในวันที่
2 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)
คือ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน
อนุสัญญานี้เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล
ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ
เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกโดยสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด
อนุสัญญาฯ
มีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2518(ค.ศ. 1975) ตามเงื่อนไขว่าด้วยอนุสัญญา ฯ
จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นภาคี 7 ประเทศ
ขณะนี้นับถึง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 มีประเทศต่าง
ๆ จากภูมิภาคทั่วโลกเข้าร่วมเป็นภาคีทั้งสิ้น 158 ประเทศ
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่
110 ซึ่งพันธกรณีของอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้วันที่ 13
กันยายน พ.ศ. 2541 โดยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
(Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทยเป็นลำดับที่ 948 ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศของอนุสัญญาแรมซาร์
อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของอันตรายและการกำจัด
(Basel Convention on the Control of Transboundary Movement of
Hazardous Waste and their Disposal : BASEL)
หลักการและสาระสำคัญ
อนุสัญญาบาเซลฯ มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากของเสียอันตรายและการป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
(1) เพื่อลดการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดนให้น้อยที่สุด
(2) เพื่อกำจัดของเสียอันตรายที่แหล่งกำเนินดให้ได้มากที่สุด
(3) เพื่อลดการก่อกำเนินของเสียอันตรายทั้งในเชิงปริมาณและความเป็นอันตราย
อนุสัญญาบาเซลฯ มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากของเสียอันตรายและการป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
(1) เพื่อลดการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดนให้น้อยที่สุด
(2) เพื่อกำจัดของเสียอันตรายที่แหล่งกำเนินดให้ได้มากที่สุด
(3) เพื่อลดการก่อกำเนินของเสียอันตรายทั้งในเชิงปริมาณและความเป็นอันตราย
credit : http://www.measwatch.org/sites/default/files/imagecache/550/150_0.jpg
พิธีสารเกียวโต (Kyoto protocal)
พิธีสารเกียวโตเป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการอนุวัตของประเทศภาคี ภายใต้หลักการของอนุสัญญาฯ พิธีสารเกียวโตตั้งชื่อขึ้นตามสถานที่ในการเจรจาที่เมืองเกียวโต เมืองหลวงเก่าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ประกอบไปด้วย 28 มาตรา
พิธีสารเกียวโตเป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการอนุวัตของประเทศภาคี ภายใต้หลักการของอนุสัญญาฯ พิธีสารเกียวโตตั้งชื่อขึ้นตามสถานที่ในการเจรจาที่เมืองเกียวโต เมืองหลวงเก่าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ประกอบไปด้วย 28 มาตรา
ประเทศไทยได้ลงนามในพิธีสารเกียวโต
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542
และได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545
credit : http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2012/12/for32121255p3.jpg&width=360&height=360
credit : https://www.youtube.com/watch?v=tWNCGp531fg by
credit : https://www.youtube.com/watch?v=YkWp0nJwKZU by
ขอขอบคุณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น